เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 4. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส
(สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สภิยะ)
บุคคลวิจัยเวททั้งหมดของสมณพราหมณ์ที่มีอยู่
เป็นผู้ปราศจากราคะในเวทนาทั้งปวง
ก้าวล่วงเวททั้งปวงแล้ว ชื่อว่าผู้จบเวท1
พระผู้มีพระภาค ชื่อว่าทรงเป็นผู้จบเวท อย่างนี้
พระผู้มีพระภาค ชื่อว่าทรงอบรมพระองค์แล้ว เป็นอย่างไร
คือ พระผู้มีพระภาคทรงอบรมพระวรกายแล้ว อบรมศีล อบรมจิต อบรม
ปัญญา อบรมสติปัฏฐาน อบรมสัมมัปปธาน อบรมอิทธิบาท อบรมอินทรีย์
อบรมพละ อบรมโพชฌงค์ อบรมมรรค ทรงละกิเลสได้แล้ว รู้แจ้งธรรมที่ไม่
กำเริบแล้ว ทำนิโรธให้แจ้งได้แล้ว พระองค์ทรงกำหนดรู้ทุกข์ได้แล้ว ละสมุทัยได้แล้ว
เจริญมรรคได้แล้ว ทำนิโรธให้แจ้งได้แล้ว รู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้แล้ว กำหนดรู้ธรรมที่
ควรกำหนดรู้ได้แล้ว ละธรรมที่ควรละได้แล้ว เจริญธรรมที่ควรเจริญได้แล้ว ทำให้
แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งได้แล้ว พระองค์ทรงมีธรรมไม่น้อย ใหญ่ ลึกซึ้ง ประมาณไม่ได้
หยั่งลงได้ยาก มีพระธรรมรัตนะมาก เปรียบดังทะเลหลวง ประกอบด้วยอุเบกขา
มีองค์ 6 (คือ)

ว่าด้วยอุเบกขามีองค์ 6
พระผู้มีพระภาคทรงเห็นรูปทางพระเนตรแล้ว ไม่ดีพระทัย ไม่เสียพระทัย
ทรงวางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ทรงสดับเสียงทางพระโสตแล้ว ฯลฯ ทรงดม
กลิ่นทางพระนาสิกแล้ว ฯลฯ ทรงลิ้มรสทางพระชิวหาแล้ว ฯลฯ ทรงถูกต้อง
โผฏฐัพพะทางพระวรกายแล้ว ฯลฯ ทรงรู้ธรรมารมณ์ทางพระทัยแล้ว ก็ไม่ดีพระทัย
ไม่เสียพระทัย ทรงวางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่
พระผู้มีพระภาคทรงเห็นรูปทางพระเนตรแล้ว ก็ไม่ติดพระทัย ไม่ทรงยินดีรูป
ที่น่าพอพระทัย ไม่ทรงให้เกิดความกำหนัด พระองค์มีพระวรกายตั้งมั่น มีพระทัย
ตั้งมั่น ดำรงอยู่ด้วยดีภายใน หลุดพ้นดีแล้ว ทรงเห็นรูปนั้นที่ไม่น่าพอพระทัยทาง

เชิงอรรถ :
1 ขุ.สุ. 25/535/438, ขุ.ม.(แปล) 29/80/242

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :115 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 4. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส
พระเนตรแล้ว ก็ไม่เสียพระทัย ไม่กริ้ว ไม่หดหู่ ไม่พยาบาท พระองค์มีพระวรกาย
ตั้งมั่น มีพระทัยตั้งมั่น ดำรงอยู่ด้วยดีภายใน ทรงหลุดพ้นดีแล้ว สดับเสียงทาง
พระโสตแล้ว ฯลฯ ทรงดมกลิ่นทางพระนาสิกแล้ว ฯลฯ ทรงลิ้มรสทางพระ-
ชิวหาแล้ว ฯลฯ ทรงถูกต้องโผฏฐัพพะทางพระวรกายแล้ว ฯลฯ ทรงรู้ธรรมารมณ์
ทางพระทัยแล้ว ก็ไม่ติดพระทัย ไม่ทรงยินดีธรรมารมณ์ที่น่าพอพระทัย ไม่ทรงให้
เกิดความกำหนัด พระองค์มีพระวรกายตั้งมั่น มีพระทัยตั้งมั่น ดำรงอยู่ด้วยดีภายใน
ทรงหลุดพ้นดีแล้ว ทรงรู้ธรรมารมณ์นั้นที่ไม่น่าพอใจทางพระทัยแล้ว ก็ไม่เสียพระทัย
ไม่กริ้ว ไม่หดหู่ ไม่พยาบาท พระองค์มีพระวรกายตั้งมั่น มีพระทัยตั้งมั่น ดำรง
อยู่ด้วยดีภายใน หลุดพ้นดีแล้ว
พระผู้มีพระภาคทรงเห็นรูปทางพระเนตรแล้ว ก็มีพระวรกายตั้งมั่นในรูปที่
ชอบพระทัยและไม่ชอบพระทัย มีพระทัยตั้งมั่น ดำรงอยู่ด้วยดีภายใน หลุดพ้นดีแล้ว
สดับเสียงทางพระโสตแล้ว ฯลฯ ทรงดมกลิ่นทางพระนาสิกแล้ว ฯลฯ ทรงลิ้มรส
ทางพระชิวหาแล้ว ฯลฯ ทรงถูกต้องโผฏฐัพพะทางพระวรกายแล้ว ฯลฯ ทรงรู้
ธรรมารมณ์ทางพระทัยแล้ว ก็มีพระวรกายตั้งมั่นในธรรมารมณ์ที่ชอบพระทัยและ
ไม่ชอบพระทัย มีพระทัยตั้งมั่น ดำรงอยู่ด้วยดีภายใน หลุดพ้นดีแล้ว
พระผู้มีพระภาคทรงเห็นรูปทางพระเนตรแล้ว ก็ไม่ทรงกำหนัดในรูปที่ชวน
กำหนัด ไม่ขัดเคืองในรูปที่ชวนขัดเคือง ไม่หลงในรูปที่ชวนให้หลง ไม่โกรธในรูปที่
ชวนให้โกรธ ไม่เศร้าหมองในรูปที่ชวนให้เศร้าหมอง ไม่มัวเมาในรูปที่ชวนให้มัวเมา
สดับเสียงทางพระโสตแล้ว ฯลฯ ทรงดมกลิ่นทางพระนาสิกแล้ว ฯลฯ ทรงลิ้มรส
ทางพระชิวหาแล้ว ฯลฯ ทรงถูกต้องโผฏฐัพพะทางพระวรกายแล้ว ฯลฯ ทรงรู้
ธรรมารมณ์ทางพระทัยแล้ว ก็ไม่ทรงกำหนัดในธรรมารมณ์ที่ชวนให้กำหนัด ไม่
ทรงขัดเคืองในธรรมารมณ์ที่ชวนให้ขัดเคือง ไม่หลงในธรรมารมณ์ที่ชวนให้หลง
ไม่ทรงมัวเมาในธรรมารมณ์ที่ชวนให้มัวเมา ไม่ทรงเศร้าหมองในธรรมารมณ์ที่ชวน
ให้เศร้าหมอง
พระผู้มีพระภาคเมื่อทอดพระเนตร ก็สักว่าทอดพระเนตร เมื่อสดับก็สักว่า
สดับ เมื่อรับรู้ กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ก็สักว่ารับรู้ เมื่อรู้แจ้งธรรมารมณ์ก็สักว่ารู้แจ้ง
ไม่ทรงติดในรูปที่ทรงเห็น ไม่ทรงติดในเสียงที่ได้สดับ ไม่ทรงติดในกลิ่น ไม่ทรงติด
ในรสและไม่ทรงติดในสัมผัสที่รับรู้ ไม่ทรงติดในธรรมารมณ์ที่ทรงรู้แจ้ง ไม่มีตัณหา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :116 }